วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

4 เทคนิค หยุดเครียดถาวร
เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเครียดเรื่องเรียน เรื่องงาน เรื่องแฟน ฯลฯ วิธีแก้เครียดก็มีหลายวิธี แต่ใครที่ยังมีความเครียดยังวนเวียนไม่หายซักที มาลอง 4 เทคนิค หยุดเครียดถาวร ที่แนะนำโดย นพ.มล. สมชาย จักรพันธุ์ กันค่ะ
ทุกคน ทุกเพศ หญิงชายมีโอกาสเกิดความเครียดได้เหมือนกัน หากไม่ได้รับการแก้ไขทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพทั้งกายและจิต ความเครียดเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ คือปัญหาการเงิน การทำงาน ปัญหาสัมพันธภาพ เรื่องสุขภาพ และปัญหาอื่นๆในชีวิตประจำวัน
วิธีการจัดการความเครียดมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับปัญหาและสถานการณ์ ท่านสามารถเลือกจัดการความเครียดได้หลายเทคนิค นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ ได้แบ่งการจัดการความเครียดได้ 4 วิธีใหญ่ๆ ดังนี้
วิธีจัดการกับความเครียด วิธีที่หนึ่ง คือ พยายามหลีกเลี่ยง (Avoid) สถานการณ์หรือบุคคลที่ทำให้เราเครียด วิธีหลีกเลี่ยงทำได้โดย รู้จักปฏิเสธ เลี่ยงเผชิญหน้ากับบุคคลที่ทำให้เครียด ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ไม่พูดเรื่องที่ความคิดเห็นไม่ตรงกัน เรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำประจำวัน
วิธีจัดการกับความเครียด วิธีที่สอง คือ ปรับเปลี่ยนสิ่งที่ทำให้เครียด (Alter) ถ้าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นได้ควรพยายามปรับเปลี่ยนสิ่งที่ทำให้เครียดซึ่งทำได้โดย บอกความรู้สึกของเราต่อคนนั้นด้วยวิธีนุ่มนวล หรือการปรับเปลี่ยนตนเองในกรณีที่เราอาจเป็นสาเหตุทำให้คนอื่นเครียด และจัดสรรเวลาการทำงานให้ดี เพราะการพยายามทำงานหนักหรือทำกิจกรรมต่างๆตลอดทั้งวันไม่ใช่เรื่องดี จะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าและเกิดความเครียดได้ง่ายเช่นกัน
วิธีจัดการกับความเครียด วิธีที่สาม คือ ปรับตัวให้เข้ากับความเครียด (Adapt) ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสาเหตุความเครียด จึงควรปรับตัวให้เข้ากับมัน โดยยอมรับหรือเปลี่ยนทัศนคติหรือความคาดหวังจากเดิมไปบ้าง ด้วยการมองปัญหาในมุมใหม่ มองสถานการณ์ให้เป็นด้านดี มองปัญหาที่เกิดในระยะยาวที่จะเกิดในโอกาสต่อไป เช่น จะต้องเตรียมพร้อมเรื่องการเงินในช่วงเปิดเทอมหน้าของลูกอย่างไร และลดมาตรฐานลง คนที่พยามทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ มักเครียดง่ายและทำให้คนอื่นเครียดด้วย หากคิดว่าที่เขาทำได้แค่นี้ก็ดีแล้ว
วิธีจัดการกับความเครียด วิธีที่สี่ คือยอมรับความเครียด (Accept) หากเราหนี หรือปรับเปลี่ยน หรือควบคุมสาเหตุความเครียดบางอย่างไม่ได้ เช่น ความเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ภาวะการเงินที่ถดถอย หรืออุบัติเหตุ การยอมรับปัญหาจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่อาจยากในตอนแรก ทำได้ดังนี้ อย่าคิดว่าเราสามารถควบคุมทุกอย่างได้ คิดว่าปัญหายากๆ คือการทดสอบ พูดระบายกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท และการให้อภัย ซึ่งตรงกับพระพุทธศาสนาที่ให้รู้จักการให้อภัย เพราะผู้คนในโลกนี้รวมทั้งตัวเราอาจทำอะไรที่ผิดพลาดได้ การให้อภัยช่วยให้ความรู้สึกขุ่นเคืองลดลง อารมณ์ดีขึ้น พร้อมที่จะเดินไปข้างหน้า
จะปล่อยให้ความเครียดรุมเร้าเราอยู่ทำไม ควรหลีกเลี่ยง ปรับเปลี่ยน ปรับตัวหรือยอมรับให้ความเครียดเป็นมิตรที่ดี เช่น ยอมรับข้อดีการเป็นคนไม่สวย ทำให้ไม่เป็นเป้าสายตาของหนุ่มๆ อันธพาล โชคดีที่เกิดมาไม่ร่ำรวย ทำให้ไม่ต้องมาห่วงการดูแลทรัพย์สิน ขโมยขึ้นบ้านได้ทองคำไปสิบบาทยังโชคดีที่ไม่ได้ทำร้ายคนในบ้าน และโชคดีที่มีหน้าที่การงานที่มั่นคง มีอวัยวะครบ ไม่พิการ เป็นต้น 

11 เคล็ดลับสำหรับคนขี้ลืม

11 เคล็ดลับสำหรับคนขี้ลืม
"ยัง ไม่ทันแก่ก็ขี้หลงขี้ลืมซะแล้ว.. " ถ้าคุณเคยถูกใครว่าแบบนี้ เห็นทีต้องรีบหาทางแก้ปัญหา ก่อนที่จะถูกตราหน้า เป็นคุณป้าทั้งๆที่หน้ายังสวยใสปิ๊ง
1. จดบันทึกช่วยจำ
การ จดบันทึกลงในสมุดที่มีวันที่กำกับ จะช่วยให้คุณแพลนเรื่องเล็กๆน้อยๆในชีวิตได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน,แต่ละอาทิตย์ หรือที่ต้องทำในเดือนถัดไป จดเบอร์โทรศัพท์,ที่อยู่เพื่อนฝูง,วันเกิด,ข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่คุณเป็นและ การรักษา รวมไปถึงความรู้สึกนึกคิดของคุณในแต่ละวัน,คำคมที่ชอบ ฯลฯ การจดจะช่วยย้ำให้สมองจำเรื่องราวเหล่านี้ได้ดีขึ้น หรือถ้าจำไม่ได้ พกสมุดบันทึกติดตัวไปเปิดดูยามที่นึกอะไรไม่ออก ก็ช่วยได้ดีเชียวละ
2. พูดกับตัวเองดังๆ
"ฉัน กำลังจะเอาเสื้อไปส่งซักที่ร้าน แล้วจะเลยไปซื้อไข่กับนมที่ซูเปอร์มาร์เก็ต แล้วกลับมาล้างห้องน้ำในตอนสาย" การพูดก็เหมือนกับจดบันทึก และที่ๆดีที่สุดที่จะพูดออกมาดังๆ คือในห้องน้ำ ยามเช้าก่อนเริ่มออกจากบ้าน นึกถึงสิ่งที่คุณต้องทำในวันนั้น แล้วพูดออกมาดังๆ ซ้ำๆกันหลายๆหน ถ้าคิดว่ายังจำไม่ได้และเป็นกังวล ลองใช้เครื่องเทปเล็กๆอัดเสียงที่คุณพูด และนำเทปติดตัวไปเปิดยามที่นึกไม่ออกว่าจะทำอะไร
3. ติดโน้ต
เดี๋ยว นี้มีแผ่นโน้ตเล็กๆ ที่ติดไว้ที่ไหนก็ได้ขายอยู่ทั่วไป ขนาดก็เหมาะกับการพกพา เวลาที่มีการนัดหมายหรือนึกขึ้นมาได้ว่าต้องทำอะไรในวันที่ยังมาไม่ถึง ให้เขียนสิ่งที่จะทำลงบนกระดาษโน้ต แปะไว้ในที่ๆคุณต้องเห็นเป็นประจำ เช่นที่ประตูตู้เย็นในครัว,บอร์ดช่วยจำที่ติดไว้ตรงทางเดินก่อนออกจากบ้าน หรือในรถ ทุกครั้งที่เห็นโน้ตที่ติดไว้ คือการเตือนสมองให้จดจำเรื่องเหล่านี้แม่นยำขึ้น
4. เก็บข้าวของให้เป็นที่
เก็บ ของให้เป็นที่ในที่ที่ควรจะเป็น เช่น เก็บยาที่ต้องกินก่อนนอนไว้ที่โต๊ะข้างเตียง ข้างขวดน้ำดื่ม,เก็บกุญแจไว้บนโต๊ะเล็กๆ ข้างประตูทางออก ช่วยให้ไม่ต้องมานั่งเสียเวลานึกทุกครั้งที่จะใช้ข้าวของที่ว่า
5. อย่าจับปลาหลายมือ
ไม่ ได้หมายถึงสาวๆที่มีแฟนทีเดียวหลายๆคน แต่หมายถึงคนที่ชอบทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมกัน เช่น ดูทีวี ในขณะที่หูก็ฟังเสียงเพื่อนในโทรศัพท์ ทำให้ไม่มีสมาธิในการจำ ควรจะเลือกทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
6. ปฎิบัติตัวเป็นกิจวัตร
การ ทำซ้ำๆ เหมือนๆกัน ช่วยให้สมองจำได้เองโดยไม่ต้องพยายาม เช่น ถ้าทุกครั้งที่อ่านหนังสือยังไม่จบแต่ต้องไปทำอย่างอื่น คุณวางมันไว้ที่ใดที่หนึ่งเป็นประจำ เมื่อเสร็จธุระจะกลับมาอ่านต่อ สมองจะสั่งการโดยอัติโนมัติว่าจะต้องไปหยิบหนังสือที่ไหน
7. ใช้ทริคช่วยจำ
ทริ คประเภทท่องจำ,คำย่อ,คำคล้องจอง อย่างสมัยที่เราทำตอนเด็กๆ ประเภท "ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ.." ยังใช้ได้ดีในกรณีนี้ ยิ่งถ้าต้องทำอะไรหลายๆอย่างในวันเดียว เอามาผูกเป็นเรื่องอย่างข้างต้น หรือจะใช้ตัวย่อ เช่น ฟ-ส-น-ม (ทำฟัน-เอาหนังสือไปคืนเพื่อน-เติมน้ำมันรถ-จ่ายค่ามือถือ) ก็ได้
8. ช้าๆได้พร้าเล่มงาม
ทำ อะไรให้ช้าลงหน่อย เพราะสมองเราจะจำอะไรได้ช้าลงเมื่ออายุมากขึ้น การพูดเร็ว ทำเร็ว จนเกินไปก็มีส่วนทำให้สมองเก็บเรื่องราวเหล่านั้นไว้ไม่ทัน
9. ร่างกายแข็งแรง
ความจำก็แข็งแรง ดูแลตัวเองให้ดี กินอาหารให้ครบหมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะเมื่อร่างกายแข็งแรง ความจำก็จะดีไปด้วย
10. บริหารสมอง
ทำ กิจกรรมที่แตกต่าง เช่น เล่นเกมส์,อ่านหนังสือ,เล่นดนตรี ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้ช่วยให้สมองได้ออกกำลัง ก็เหมือนกับร่างกาย เมื่อได้ออกกำลังก็จะแอคทีฟขึ้น คิดอะไรได้ฉับไว และที่แน่ๆช่วยให้ความจำดี
11. เข้าใจความถนัดของตัวเอง
คน เราแต่ละคนที่ความถนัดไม่เหมือนกัน บางคนจำได้ดีเมื่อได้มองเห็น (จดบันทึก) บางคนจำได้ดีกว่าเมื่อได้ยินเสียง (พูดดังๆ/อัดเทป) แต่ก็มีบางคนจะจำได้ก็ต่อเมื่อได้ลงมือ ปฎิบัติหรือมีประสบการณ์ร่วม (เขียน/ทำ)

ลองสังเกตุดูว่าคุณจำได้ดีกับวิธีการ ไหน แล้วเลือกวิธีการที่เหมาะที่สุดสำหรับตัวคุณเอง แต่ถ้าจะให้ดี ใช้ทั้ง 3 วิธีสลับกันก็จะช่วยให้สมองได้ฝึกทักษะมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สิ่งที่ไม่ควรทำหลังทานอาหาร

7 สิ่งที่ไม่ควรทำหลังการทานอาหาร

ladytip
 








หลังทานอาหารเสร็จใหม่ๆ เรามักจะคิดว่าต้องเดินๆๆๆๆ เดินให้เยอะๆ เข้าไว้ หรือดื่มน้ำตามทันที หรือกินผลไม้ ของหวาน ดื่มชาแก้เลี่ยน ฯลฯ แต่นั่นเป็นการเข้าใจผิดค่ะ

1. อย่าสูบบุหรี่ !!

จากผลการทดลองของผู้เชี่ยวชาญพบว่า การสูบบุหรี่หลังอาหาร เทียบได้กับการสูบบุหรี่ยามปกติถึง 10 มวน (ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น ซึ่งสูบปกติก็มีโอกาสเป็นอยู่แล้ว)

2. อย่ากินผลไม้ทันทีหลังอาหาร !!

เพราะมันไปพองในท้องคุณให้กินผลไม้ 1 หรือ 2 ชม. ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้จะดีกว่า

3. อย่าดื่มน้ำชา !!

เพราะว่าใบชามีความเป็นกรดสูง ทำให้โปรตีนในอาหารที่เรากินกระด้างขึ้นทำให้ย่อยยาก

4. อย่าขยายเข็มขัดหลังกินอิ่ม !!

เพราะเป็นเหตุให้ลำไส้ไม่ปกติ

5. อย่าอาบน้ำหลังกินข้าว !!

เพราะการอาบน้ำ จะทำให้โลหิตไหลเวียนไปที่มือ และเท้าทั่วร่างกายเป็นเหตุให้ปริมาณโลหิตไหลเวียนบริเวณท้องก็เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่

6. อย่าเดินหลังอาหาร !!

แม้คุณจะเคยได้ยินว่ากินข้าวแล้วให้เดินสัก 100 ก้าวจะทำให้อายุยืนถึง 99 ปี !?! การเดินทันทีทำให้การย่อยเพื่อดูดซึมสารอาหารทำได้ไม่ดีควรรออย่างน้อยสักชั่วโมงค่อยเดินถ้าต้องการ

7. อย่านอนทันที !!

อาหารที่รับประทานเข้าไปไม่สามารถย่อยได้เต็มที่ อาจทำให้เกิดลมหรือแก๊สในทางเดินอาหาร
…มาถึงบรรทัดนี้ก็อย่าเก็บเมล์นี้ไว้คนเดียว ส่งต่อให้เพื่อนๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังกินอิ่มกันเด้อ !!…

อาชีพ

อาชีพไหนที่เหมาะกับเรา
 
การเลือกที่เหมาะกับเรา เป็นเรื่องที่น้องๆ ทุกคนควรให้ความสำคัญ บางคนคิดว่าเรียนอะไรก็ได้ ขอแค่ให้จบมา
แล้วมีงานทำก็พอเพราะทุกวันนี้งานหายาก แต่ถ้าเราได้เรียนในสิ่งที่ชอบ และได้ทำงานตามความถนัด งานนั้นๆ จะไม่สร้างแค่รายได้ แต่มันจะสร้างความสุขให้กับเราไปตลอดชีวิต!จริงๆ เราก็พูดเรื่องการเลือกอาชีพกันมาโดยตลอด แต่ก็ยังมีน้องๆ อีกหลายคนที่ยังตัดสินใจไม่ได้ เลือกไม่ถูกว่าจะเอายังไงดี ถ้าอย่างนั้นวันนี้เรามาดูแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการเลือกอาชีพในปัจจุบันกันดีกว่าค่ะ
อย่างแรกเราจะต้องรู้จักตัวเองเสียก่อน โดยอาจจะดูจากความชอบหรือความถนัด เพราะคงไม่มี
ใครรู้จักตัวเราเองดีเท่ากับตัวเราอีกแล้วแต่ถ้าใครที่ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรหรือควรจะไปทางไหน ลองสังเกตบุคลิกภาพของเราตามทฤษฎีของ John L. Holland ก็ได้ค่ะ ซึ่งทฤษฎีนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพกับการเลือกอาชีพ เราจะได้รู้ว่าตัวเองเด่นด้านไหน เหมาะที่จะทำอาชีพอะไร
จากนั้น เราก็ควรสำรวจภาวะการมีงานทำของอาชีพต่างๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลือกสาขาการเรียน ซึ่งผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่จบในระดับอาชีวศึกษาสาขาพาณิชยกรรมได้งานทำเฉลี่ยร้อยละ 50.84, ช่างอุตสาหกรรม ร้อยละ 48.82, ศิลปหัตถกรรม ร้อยละ 36.39, คหกรรม ร้อยละ 29.37 และเกษตรกรรม ร้อยละ 25.91 ส่วนในระดับอุดมศึกษา ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาชี้ให้เห็นว่า สาขาที่จบมาแล้วมีงานทำคือสาขาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ รองลงมาคือวิศวกรรมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ส่วนสาขาด้านมนุษยศาสตร์ สื่อสารมวลชน และศิลปะอาจจะต้องมีความสามารถที่โดดเด่นจึงจะหางานได้ง่ายค่ะ
ที่สำคัญ อย่าลืมติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจสังคมโลก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องอาชีพที่จะเกิดขึ้นใหม่ ยกตัวอย่างเช่น การเปิดการค้าเสรี (Free Trade Area) ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ส่งผลให้ภาคธุรกิจของไทยมีความต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ )Logistics) ก็มีแนวโน้มเติบโตสูงขี้นตามไปด้วย ดังนั้น ผู้ที่หาข้อมูลในส่วนนี้มาก่อน และเลือกเรียนด้านช่าง ภาษา คอมพิวเตอร์ และการขนส่งก็อาจจะได้เปรียบผู้อื่น ยิ่งถ้ามีทักษะด้านการสื่อสาร การนำเสนองาน การประสานงาน และการทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยแล้ว รับรองไปรุ่งแน่นอนค่ะ!
น้องๆ ลองใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการเลือกสาขาเรียน หรือเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองดูนะคะ เพราะไม่ว่าจะเป็นการรู้จักตัวเอง การสำรวจอาชีพที่มีแนวโน้มว่าจะหางานง่าย ตลอดจนการติดตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศและโลก ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เราเลือกทางเดินในอนาคตได้ง่ายขึ้น ส่วนคนที่ไหนที่มีอาชีพในดวงใจอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำได้ไหม มันจะใช่หรือเปล่า ลองไปค้นหาตัวตนที่แท้จริงของตัวเองกับหลักสูตรที่จะช่วยทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้นก็ได้ค่ะ ย้ำให้ชัดๆ ไปเลยว่าเราเป็นใคร ทำอาชีพไหนแล้วจะประสบความสำเร็จ ^^

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การบริหารสมอง

การบริหารสมอง(Brain Activation)


การบริหารสมอง (brain activation)  หมายถึง การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ corpus callosum ซึ่งเชื่อมสมอง ๒ ซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกัน แข็งแรงและทำงานคล่องแคล่ว จะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลและการเรียนรู้ของสมอง ๒ ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพ และยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีอารมณ์ขันเพราะคลื่นสมอง (brain wave) จะลดความเร็วลง คลื่นบีตา (beta) เป็นแอลฟา (alpha) ซึ่งเป็นสภาวะที่สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

๑. การบริหารปุ่มสมอง ปุ่มขมับ ปุ่มใบหู
►ปุ่มสมอง
ใช้มือซ้ายวางบริเวณใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้า จะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนัง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุมตื้นๆ ๒ ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว หรือมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ ๓๐ วินาที และให้นำมือขวาวางไปที่ตำแหน่งสะดือ
ขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย และจากพื้นขึ้นเพดาน จากนั้นให้เปลี่ยนมือด้านขวาทำเช่นเดียวกัน
 
 
ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง
 เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
♦ ช่วยสร้างให้ระบบการสื่อสารระหว่างสมอง ๒ ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น


►ปุ่มขมับ


๑. ใช้นิ้วทั้ง ๒ ข้างนวดขมับเบาๆ วนเป็นวงกลม ประมาณ ๓๐ วินาที ถึง ๑ นาที
๒. กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้นมองขึ้นไปที่เพดาน



ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ
 เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น
♦ ทำให้การทำงานของสมองทั้ง ๒ ซีกสมดุลกัน

 
► ปุ่มใบหู


๑. ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง ๒ ข้าง
๒. นวดตามริมขอบนอกของใบหูทั้ง ๒ ข้างพร้อมๆ กัน ให้นวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหูเบาๆ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความจำและมีสมาธิมากขึ้น
 
 
ประโยชน์ของการกระตุ้นปุ่มใบหู
 เพื่อกระตุ้นหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น
♦ สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น

๒. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (cross crawl)
ท่าที่ ๑ นับ ๑-๑๐
  
๑. ยกมือทั้ง ๒ ขึ้นมา
๒. มือขวา ชูนิ้วชี้ตั้งขึ้น นับ ๑  มือซ้าย ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือขนานกับพื้น
๓. นับ ๒ ให้เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายชู ๒ นิ้ว คือ นิ้วชี้กับนิ้วกลาง  ส่วนมือขวาก็ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๔. นับ ๓ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ๓ นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง  มือซ้ายก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
   
๕. นับ ๔ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ๔ นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย  ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๖. นับ ๕ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ๕ นิ้ว คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย  ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๗. นับ ๖ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วก้อย  ส่วนมือขวาให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
      
๘. นับ ๗ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วนาง  ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๙.  นับ ๘ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือ คือแตะที่นิ้วกลาง
 ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๑๐. นับ ๙ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วชี้ ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๑๑. นับ ๑๐ ให้เปลี่ยนมาเป็นกำมือซ้าย ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
ประโยชน์ของการบริหารท่านับ ๑-๑๐
♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา
♦ เพื่อกระตุ้นความจำ
 
 
ท่าที่ ๒ จีบ L
๑. ยกมือทั้ง ๒ ข้างขึ้นมา ให้มือขวาทำท่าจีบ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ ส่วนนิ้วอื่นๆ ให้เหยียดออกไป
๒. มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้
๓. เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้ายบ้าง ทำเช่นเดียวกับข้อ ๑ ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวแอล (L) เช่นเดียวกับข้อ ๒
๔. ให้ทำสลับกันไปมา ๑๐ ครั้ง
                  
ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา
♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุล มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
♦ เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
 
ท่าที่ ๓ โป้ง-ก้อย
๑. ยกมือทั้ง ๒ ข้างขึ้นมาให้มือขวาทำท่าโป้ง โดยกำมือและยกหัวแม่มือขึ้นมา ส่วนมือซ้ายให้ทำท่าก้อย โดยกำมือและเหยียดนิ้วก้อยชี้ออกมา
๒. เปลี่ยนมาเป็นโป้งด้วยมือซ้ายและก้อยด้วยมือขวา
๓. ให้ทำสลับกันไปมา ๑๐ ครั้ง
                  
 
 ท่าที่ ๔ แตะจมูก-แตะหู
๑. มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)
๒. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายแตะที่หูขวา ส่วนมือขวาไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)
               

ประโยชน์ของการบริหารท่าแตะจมูก-แตะหู
♦ ช่วยให้มองเห็นภาพทางด้านซ้ายและขวาดีขึ้น
 
ท่าที่ ๕ แตะหู
๑. มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา
๒. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา ส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย
                   
ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย แตะจมูก-แตะหู
♦ เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
♦ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
♦ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด
 

๓. การผ่อนคลาย
ยืนใช้มือทั้ง ๒ ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบาๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ ๕-๑๐ นาที
ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย
♦ ทำให้เกิดสมาธิ เป็นการเจริญสติ