วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สิ่งที่ไม่ควรทำหลังทานอาหาร

7 สิ่งที่ไม่ควรทำหลังการทานอาหาร

ladytip
 








หลังทานอาหารเสร็จใหม่ๆ เรามักจะคิดว่าต้องเดินๆๆๆๆ เดินให้เยอะๆ เข้าไว้ หรือดื่มน้ำตามทันที หรือกินผลไม้ ของหวาน ดื่มชาแก้เลี่ยน ฯลฯ แต่นั่นเป็นการเข้าใจผิดค่ะ

1. อย่าสูบบุหรี่ !!

จากผลการทดลองของผู้เชี่ยวชาญพบว่า การสูบบุหรี่หลังอาหาร เทียบได้กับการสูบบุหรี่ยามปกติถึง 10 มวน (ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น ซึ่งสูบปกติก็มีโอกาสเป็นอยู่แล้ว)

2. อย่ากินผลไม้ทันทีหลังอาหาร !!

เพราะมันไปพองในท้องคุณให้กินผลไม้ 1 หรือ 2 ชม. ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้จะดีกว่า

3. อย่าดื่มน้ำชา !!

เพราะว่าใบชามีความเป็นกรดสูง ทำให้โปรตีนในอาหารที่เรากินกระด้างขึ้นทำให้ย่อยยาก

4. อย่าขยายเข็มขัดหลังกินอิ่ม !!

เพราะเป็นเหตุให้ลำไส้ไม่ปกติ

5. อย่าอาบน้ำหลังกินข้าว !!

เพราะการอาบน้ำ จะทำให้โลหิตไหลเวียนไปที่มือ และเท้าทั่วร่างกายเป็นเหตุให้ปริมาณโลหิตไหลเวียนบริเวณท้องก็เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่

6. อย่าเดินหลังอาหาร !!

แม้คุณจะเคยได้ยินว่ากินข้าวแล้วให้เดินสัก 100 ก้าวจะทำให้อายุยืนถึง 99 ปี !?! การเดินทันทีทำให้การย่อยเพื่อดูดซึมสารอาหารทำได้ไม่ดีควรรออย่างน้อยสักชั่วโมงค่อยเดินถ้าต้องการ

7. อย่านอนทันที !!

อาหารที่รับประทานเข้าไปไม่สามารถย่อยได้เต็มที่ อาจทำให้เกิดลมหรือแก๊สในทางเดินอาหาร
…มาถึงบรรทัดนี้ก็อย่าเก็บเมล์นี้ไว้คนเดียว ส่งต่อให้เพื่อนๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังกินอิ่มกันเด้อ !!…

อาชีพ

อาชีพไหนที่เหมาะกับเรา
 
การเลือกที่เหมาะกับเรา เป็นเรื่องที่น้องๆ ทุกคนควรให้ความสำคัญ บางคนคิดว่าเรียนอะไรก็ได้ ขอแค่ให้จบมา
แล้วมีงานทำก็พอเพราะทุกวันนี้งานหายาก แต่ถ้าเราได้เรียนในสิ่งที่ชอบ และได้ทำงานตามความถนัด งานนั้นๆ จะไม่สร้างแค่รายได้ แต่มันจะสร้างความสุขให้กับเราไปตลอดชีวิต!จริงๆ เราก็พูดเรื่องการเลือกอาชีพกันมาโดยตลอด แต่ก็ยังมีน้องๆ อีกหลายคนที่ยังตัดสินใจไม่ได้ เลือกไม่ถูกว่าจะเอายังไงดี ถ้าอย่างนั้นวันนี้เรามาดูแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการเลือกอาชีพในปัจจุบันกันดีกว่าค่ะ
อย่างแรกเราจะต้องรู้จักตัวเองเสียก่อน โดยอาจจะดูจากความชอบหรือความถนัด เพราะคงไม่มี
ใครรู้จักตัวเราเองดีเท่ากับตัวเราอีกแล้วแต่ถ้าใครที่ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรหรือควรจะไปทางไหน ลองสังเกตบุคลิกภาพของเราตามทฤษฎีของ John L. Holland ก็ได้ค่ะ ซึ่งทฤษฎีนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพกับการเลือกอาชีพ เราจะได้รู้ว่าตัวเองเด่นด้านไหน เหมาะที่จะทำอาชีพอะไร
จากนั้น เราก็ควรสำรวจภาวะการมีงานทำของอาชีพต่างๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลือกสาขาการเรียน ซึ่งผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่จบในระดับอาชีวศึกษาสาขาพาณิชยกรรมได้งานทำเฉลี่ยร้อยละ 50.84, ช่างอุตสาหกรรม ร้อยละ 48.82, ศิลปหัตถกรรม ร้อยละ 36.39, คหกรรม ร้อยละ 29.37 และเกษตรกรรม ร้อยละ 25.91 ส่วนในระดับอุดมศึกษา ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาชี้ให้เห็นว่า สาขาที่จบมาแล้วมีงานทำคือสาขาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ รองลงมาคือวิศวกรรมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ส่วนสาขาด้านมนุษยศาสตร์ สื่อสารมวลชน และศิลปะอาจจะต้องมีความสามารถที่โดดเด่นจึงจะหางานได้ง่ายค่ะ
ที่สำคัญ อย่าลืมติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจสังคมโลก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องอาชีพที่จะเกิดขึ้นใหม่ ยกตัวอย่างเช่น การเปิดการค้าเสรี (Free Trade Area) ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ส่งผลให้ภาคธุรกิจของไทยมีความต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ )Logistics) ก็มีแนวโน้มเติบโตสูงขี้นตามไปด้วย ดังนั้น ผู้ที่หาข้อมูลในส่วนนี้มาก่อน และเลือกเรียนด้านช่าง ภาษา คอมพิวเตอร์ และการขนส่งก็อาจจะได้เปรียบผู้อื่น ยิ่งถ้ามีทักษะด้านการสื่อสาร การนำเสนองาน การประสานงาน และการทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยแล้ว รับรองไปรุ่งแน่นอนค่ะ!
น้องๆ ลองใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการเลือกสาขาเรียน หรือเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองดูนะคะ เพราะไม่ว่าจะเป็นการรู้จักตัวเอง การสำรวจอาชีพที่มีแนวโน้มว่าจะหางานง่าย ตลอดจนการติดตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศและโลก ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เราเลือกทางเดินในอนาคตได้ง่ายขึ้น ส่วนคนที่ไหนที่มีอาชีพในดวงใจอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำได้ไหม มันจะใช่หรือเปล่า ลองไปค้นหาตัวตนที่แท้จริงของตัวเองกับหลักสูตรที่จะช่วยทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้นก็ได้ค่ะ ย้ำให้ชัดๆ ไปเลยว่าเราเป็นใคร ทำอาชีพไหนแล้วจะประสบความสำเร็จ ^^

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การบริหารสมอง

การบริหารสมอง(Brain Activation)


การบริหารสมอง (brain activation)  หมายถึง การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ corpus callosum ซึ่งเชื่อมสมอง ๒ ซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกัน แข็งแรงและทำงานคล่องแคล่ว จะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลและการเรียนรู้ของสมอง ๒ ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพ และยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีอารมณ์ขันเพราะคลื่นสมอง (brain wave) จะลดความเร็วลง คลื่นบีตา (beta) เป็นแอลฟา (alpha) ซึ่งเป็นสภาวะที่สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

๑. การบริหารปุ่มสมอง ปุ่มขมับ ปุ่มใบหู
►ปุ่มสมอง
ใช้มือซ้ายวางบริเวณใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้า จะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนัง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุมตื้นๆ ๒ ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว หรือมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ ๓๐ วินาที และให้นำมือขวาวางไปที่ตำแหน่งสะดือ
ขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย และจากพื้นขึ้นเพดาน จากนั้นให้เปลี่ยนมือด้านขวาทำเช่นเดียวกัน
 
 
ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง
 เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
♦ ช่วยสร้างให้ระบบการสื่อสารระหว่างสมอง ๒ ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น


►ปุ่มขมับ


๑. ใช้นิ้วทั้ง ๒ ข้างนวดขมับเบาๆ วนเป็นวงกลม ประมาณ ๓๐ วินาที ถึง ๑ นาที
๒. กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้นมองขึ้นไปที่เพดาน



ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ
 เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น
♦ ทำให้การทำงานของสมองทั้ง ๒ ซีกสมดุลกัน

 
► ปุ่มใบหู


๑. ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง ๒ ข้าง
๒. นวดตามริมขอบนอกของใบหูทั้ง ๒ ข้างพร้อมๆ กัน ให้นวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหูเบาๆ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความจำและมีสมาธิมากขึ้น
 
 
ประโยชน์ของการกระตุ้นปุ่มใบหู
 เพื่อกระตุ้นหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น
♦ สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น

๒. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (cross crawl)
ท่าที่ ๑ นับ ๑-๑๐
  
๑. ยกมือทั้ง ๒ ขึ้นมา
๒. มือขวา ชูนิ้วชี้ตั้งขึ้น นับ ๑  มือซ้าย ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือขนานกับพื้น
๓. นับ ๒ ให้เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายชู ๒ นิ้ว คือ นิ้วชี้กับนิ้วกลาง  ส่วนมือขวาก็ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๔. นับ ๓ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ๓ นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง  มือซ้ายก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
   
๕. นับ ๔ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ๔ นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย  ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๖. นับ ๕ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ๕ นิ้ว คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย  ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๗. นับ ๖ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วก้อย  ส่วนมือขวาให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
      
๘. นับ ๗ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วนาง  ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๙.  นับ ๘ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือ คือแตะที่นิ้วกลาง
 ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๑๐. นับ ๙ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วชี้ ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๑๑. นับ ๑๐ ให้เปลี่ยนมาเป็นกำมือซ้าย ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
ประโยชน์ของการบริหารท่านับ ๑-๑๐
♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา
♦ เพื่อกระตุ้นความจำ
 
 
ท่าที่ ๒ จีบ L
๑. ยกมือทั้ง ๒ ข้างขึ้นมา ให้มือขวาทำท่าจีบ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ ส่วนนิ้วอื่นๆ ให้เหยียดออกไป
๒. มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้
๓. เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้ายบ้าง ทำเช่นเดียวกับข้อ ๑ ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวแอล (L) เช่นเดียวกับข้อ ๒
๔. ให้ทำสลับกันไปมา ๑๐ ครั้ง
                  
ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา
♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุล มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
♦ เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
 
ท่าที่ ๓ โป้ง-ก้อย
๑. ยกมือทั้ง ๒ ข้างขึ้นมาให้มือขวาทำท่าโป้ง โดยกำมือและยกหัวแม่มือขึ้นมา ส่วนมือซ้ายให้ทำท่าก้อย โดยกำมือและเหยียดนิ้วก้อยชี้ออกมา
๒. เปลี่ยนมาเป็นโป้งด้วยมือซ้ายและก้อยด้วยมือขวา
๓. ให้ทำสลับกันไปมา ๑๐ ครั้ง
                  
 
 ท่าที่ ๔ แตะจมูก-แตะหู
๑. มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)
๒. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายแตะที่หูขวา ส่วนมือขวาไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)
               

ประโยชน์ของการบริหารท่าแตะจมูก-แตะหู
♦ ช่วยให้มองเห็นภาพทางด้านซ้ายและขวาดีขึ้น
 
ท่าที่ ๕ แตะหู
๑. มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา
๒. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา ส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย
                   
ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย แตะจมูก-แตะหู
♦ เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
♦ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
♦ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด
 

๓. การผ่อนคลาย
ยืนใช้มือทั้ง ๒ ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบาๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ ๕-๑๐ นาที
ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย
♦ ทำให้เกิดสมาธิ เป็นการเจริญสติ